ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๖
Act_103_800x600
Act_102_800x600
Act_101_800x600
Act_100_800x600
Act_99_2_800x600
Act_99_1_800x600
Act_98_800x600
Act_97_800x600
Act_96_800x600
Act_95_800x600
Act_94_800x600
Act_93_800x600
Act_92_800x600
Act_91_800x600
Act_88_800x600
Act_89_800x600
Act_87_800x600
Act_86_800x600
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๕
Act_85_800x600
Act_84_800x600
Act_83_800x600
Act_81_800x600
Act_82_800x600
Act_80_800x600
Act_79_800x600
Act_78_800x600
Act_77_800x600
Act_76_800x600
Act_75_800x600
Act_74_800x600
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๔
Act_73_800x600
Act_72_800x600
Act_71_800x600
Act_69_800x600
Act_68_800x600
Act_67_800x600
Act_66_800x600
Act_65_800x600
Act_64_01_800x600
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๓
Act_63_800x600
Act_62_800x600
Act_61_800x600
Act_60_800x600
Act_59-02_800x600
Act_58_800x600
Act_57_800x600
Act_56_800x600
Act_55_800x600
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๒
Act_54_800x600
Act_53_800x600
Act_52_800x600
Act_51_800x600
Act_50_800x600
Act_48_800x600
Act_47_800x600
Act_45_800x600
Act_43_800x600
Act_42_800x600
Act_41_800x600
Act_40_800x600
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๑
Act_39_800x600
Act_38
Act_37
Act_36
Act_33
Act_32
Act_31
Act_30
Act_29
Act_27
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๖๐
Act_AwardPST45
Chantacha_Award_2
Chantacha_Award_1
Sorachai_Award
Act_23_3
Act_23_2
Act_23_1
Act_22
Act_21
ในรอบปี พ.ศ. ๒๕๕๙
Act_Goodbye
CongratIMSPQ_800x600
Noppachit
Kanchana
PSCongSICultrue2016
PSCong2_2016
PSCong1_2016
AjChantacha_1
AjChantacha_2
เรื่องเล่าในอดีต
เรื่องเล่า ๑
เรื่องเล่า ๒
เรื่องเล่า ๓
เรื่องเล่า ๔
ทีมนักศึกษาแพทย์ศิริราชได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
จากการแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยาระดับนานาชาติ ครั้งที่ 12 (12th IMSPQ)
การแข่งขันตอบปัญหาทางสรีรวิทยาระดับนานาชาติ (Inter-Medical School Physiology Quiz) มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 12 ณ มหาวิทยาลัยมาลายา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างวันที่ 20-21 สิงหาคม 2557 โดยในปีนี้ทีมจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งที่ 5 โดยมีตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขัน คือ นศพ.ฆนัท จันทรทองดี, นศพ.เฉลิมเกียรติ การสุทธิวิวัฒน์, นศพ.นิพิฐ เจริญงาม,
นศพ.ศุภชีพ ยอดพนาไพร, นศพ.สุภัสสร อมรมณีรัตน์
ซึ่งทั้งหมดเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 และอาจารย์ผู้ควบคุมทีมและนำนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ อ.ดร.พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ, อ.ดร.นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ และ นพ.ณัฐขาติ นามสวัสดิ์
การแข่งขันในปีนี้ได้รับความสนใจจากโรงเรียนแพทย์หลายประเทศ มีทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน 90 ทีม จาก 24 ประเทศ อาทิเช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย อังกฤษ เม็กซิโก โปแลนด์ ฯลฯ
โดยประเทศไทยมีโรงเรียนแพทย์ที่เข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ทั้งหมด 11 สถาบัน และทีมตัวแทนจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง
ทีมอาจารย์และนักศึกษาแพทย์ศิริราช
(แถวบน จากซ้ายไปขวา):
นศพ.เฉลิมเกียรติ การสุทธิวิวัฒน์, นศพ.ศุภชีพ ยอดพนาไพร, นศพ.นิพิฐ เจริญงาม, นศพ.ฆนัท จันทรทองดี
(แถวล่าง จากซ้ายไปขวา):
นพ.ณัฐขาติ นามสวัสดิ์, อ.ดร.พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ, นศพ.สุภัสสร อมรมณีรัตน์, อ.ดร.นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ
การแข่งขัน 12th IMSPQ ได้จัดขึ้น 2 วัน โดยในวันแรกเป็นการสอบข้อเขียนแบบรายบุคคลเพื่อคัดเลือกทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 40 อันดับเข้าแข่งขันในวันที่สองต่อไป ซึ่งทีมจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสามารถผ่านเข้าสู่รอบถัดไป โดยนศพ.นิพิฐ เจริญงาม สามารถทำ คะแนนสอบข้อเขียนได้เป็นอันดับที่ 4 และนศพ.ศุภชีพ ยอดพนาไพร ทำคะแนนสอบข้อเขียนได้เป็นอันดับที่ 9 จากผู้ร่วมแข่งขันทั้งหมดประมาณ 460 คน
นศพ.นิพิฐ เจริญงาม สามารถทำคะแนนการสอบข้อเขียน ได้เป็นลำดับที่ 4
นศพ.ศุภชีพ ยอดพนาไพร สามารถทำคะแนนการสอบข้อเขียน ได้เป็นลำดับที่ 9
การแข่งขันในวันที่สองเป็นการตอบปัญหาปากเปล่าบนเวที โดยทีมจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลสามารถทำคะแนนได้ลำดับที่ 1 ในรอบ 1, รอบ 2 และรอบ semi-final จนในที่สุดได้เข้ามาสู่รอบสุดท้าย (final) 3 สถาบัน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ผลปรากฏว่า ทีมศิริราชได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีมศิริราชได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ทีมศิริราชถ่ายภาพร่วมกับ Professor Cheng Wee Mhing
การเดินทางเพื่อเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ ได้นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติและได้รับคำชื่นชมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน พร้อมกันนั้น ทีมตัวแทนศิริราชได้มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัย อื่นๆ ทั้งในระดับอาจารย์และนักศึกษา และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะที่เดินทางไปด้วยกัน อาจารย์และตัวแทนนักศึกษาในทีมทุกคนต่างมีความประทับใจ ความสนุกสนาน และประสบการณ์ที่สามารถนำมาพัฒนาการเรียนการสอนวิชาสรีรวิทยา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาอื่นๆ
ในระดับนานาชาติต่อไป