หลักสูตรปริญญาโท

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สรีรวิทยาการแพทย์)

ปรัชญาการศึกษา

การมุ่งเน้นการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (constructivism) จนมีความรู้ ทักษะ รวมทั้งบรรลุผลการเรียนรู้ที่ คาดหวังและสามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ในการศึกษาและวิจัย (outcome-based education) เพื่อแก้ไขปัญหา ด้านสาธารณสุข ตอบสนองความต้องการของสังคม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนคนไทยอย่างยั่งยืน โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาการและวิชาชีพเป็นสำคัญ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาการแพทย์ในสถาบันอุดมศึกษา
  • นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  มหาบัณฑิตจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้

  • แสดงออกลักษณะทางจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติในวงวิชาการและวิชาชีพ
  • แสดงความรู้อย่างถูกต้องในเนื้อหาสาระหลักของสรีรวิทยาเพื่อการประยุกต์ทางคลินิก 
  • ประเมินประเด็นทางวิชาการจากข้อมูล ปัญหา แนวคิดและความรู้ด้านสรีรวิทยาการแพทย์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องผ่านการอ่าน การอภิปรายและการเขียน
  • ประเมินข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมความรู้ด้านสรีรวิทยาการแพทย์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องด้วยทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์และการคิดทางวิทยาศาสตร์ (รวมทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑) เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 
  • สื่อสารเพื่อแบ่งปันความรู้และแนวคิดจากงานวิจัยด้านสรีรวิทยาการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคคลกลุ่มต่างๆ และชุมชนวิทยาศาสตร์ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างเหมาะสม
  • แสดงทักษะทางเทคนิคการทำวิจัยในหัวข้อคัดสรรเพื่อแก้ปัญหาโจทย์วิจัยและขยายองค์ความรู้ทางสรีรวิทยาการแพทย์ที่มีอยู่เดิม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=tuition-fee

ทุน/รางวัล

http://www.sirirajgrad.com/ทุนการศึกษา
https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?p=scholarship

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/?g=11)

  • ใช้เวลาศึกษาตามแผนการศึกษา
  • ต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างหลักสูตร คือ ศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต  และทำวิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิตรวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต  
  • ต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ 
  • ต้องสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.grad.mahidol.ac.th/softskills/)
  • ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  • ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือ
    นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) และตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย

อาจารย์ประจำหลักสูตร

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก๒

  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กายภาพบำบัด พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง
  • ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
  • ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
  • ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แผน ข

  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กายภาพบำบัด พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง
  • ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
  • ต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนด
  • มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับชีวการแพทย์หรือสรีรวิทยาการแพทย์ อย่างน้อย ๓ ปี
  • ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาได้ ตามดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

เกณฑ์คะแนน / การสอบ / ยื่นผล ภาษาอังกฤษ

https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency

ขั้นตอนการรับสมัคร

https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=howToBeStudent

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
  หมวดวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต
  หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า หน่วยกิต
  วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต
  รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
แผน ข
  หมวดวิชาบังคับ ๑๘ หน่วยกิต
  หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
  วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
  รวมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ ๓ (๒-๒-๕)
  ศรคร๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๐ : การวิเคราะห์บทความทางวิทยาศาสตร์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๒ : หลักของการทดลองทางสรีรวิทยา ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๕ : สัมมนาการวิจัยทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๘ : การเวียนศึกษางานวิจัยทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๐ : รากฐานสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๑ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๒ : สรีรวิทยาการแพทย์ต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๓ : สรีรวิทยาการแพทย์หัวใจหลอดเลือด ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๔ : สรีรวิทยาการแพทย์ระบบหายใจ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๕ : สรีรวิทยาการแพทย์ทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๖ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๒ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๗ : สรีรวิทยาบูรณาการ ๑ (๑-๐-๒)
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรคร๕๐๔ : การสื่อสารและสารสนเทศทางชีวการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรคร๕๐๕ : สถิติสำหรับชีวการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรชอ๕๐๕ : ทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้านชีวการออกแบบ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๑๙ : แบบอย่างการเรียนรู้และการเรียนรู้อาศัยสมอง ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๑ : ชีวเคมีเชิงสรีรวิทยา ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๔ : ทักษะวิชาชีพและการสอนทางสรีรวิทยา ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๖ : สรีรวิทยามนุษย์ในภาวะไร้น้ำหนัก ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๗ : วิธีปฏิบัติการชีววิทยาระดับโมเลกุล ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๙ : สรีรวิทยาของการสูงวัยและการชะลอวัย ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๓๘ : ประสาทวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๙ : สรีรวิทยาต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๐ : สรีรวิทยาหัวใจหลอดเลือดขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๑ : สรีรวิทยาระบบหายใจและเมแทบอลิซึมขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๒ : สรีรวิทยาทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๓ : ปฏิบัติการสรีรวิทยาสำหรับงานวิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรม ๑ (๑-๐-๒)
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรสร๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ ๑๒ (๐-๓๖-๐)
 

แผน

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ ๓ (๒-๒-๕)
  ศรคร๕๐๓ : ระเบียบวิธีวิจัยทางชีวการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๐ : การวิเคราะห์บทความทางวิทยาศาสตร์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๒ : หลักของการทดลองทางสรีรวิทยา ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๕ : สัมมนาการวิจัยทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๘ : การเวียนศึกษางานวิจัยทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๐ : รากฐานสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๑ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๒ : สรีรวิทยาการแพทย์ต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๓ : สรีรวิทยาการแพทย์หัวใจหลอดเลือด ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๔ : สรีรวิทยาการแพทย์ระบบหายใจ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๕ : สรีรวิทยาการแพทย์ทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๖ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๒ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๗ : สรีรวิทยาบูรณาการ ๑ (๑-๐-๒)
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรคร๕๐๔ : การสื่อสารและสารสนเทศทางชีวการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)
  ศรคร๕๐๕ : สถิติสำหรับชีวการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรชอ๕๐๕ : ทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้านชีวการออกแบบ ๒ (๒-๐-๔)
  ศรวภ๕๐๑ : วิทยาภูมิคุ้มกัน ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๑๙ : แบบอย่างการเรียนรู้และการเรียนรู้อาศัยสมอง ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๑ : ชีวเคมีเชิงสรีรวิทยา ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๔ : ทักษะวิชาชีพและการสอนทางสรีรวิทยา ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๒๖ : สรีรวิทยามนุษย์ในภาวะไร้น้ำหนัก ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๗ : วิธีปฏิบัติการชีววิทยาระดับโมเลกุล ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๒๙ : สรีรวิทยาของการสูงวัยและการชะลอวัย ๒ (๒-๐-๔)
  ศรสร๕๓๘ : ประสาทวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๓๙ : สรีรวิทยาต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๐ : สรีรวิทยาหัวใจหลอดเลือดขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๑ : สรีรวิทยาระบบหายใจและเมแทบอลิซึมขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๒ : สรีรวิทยาทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)
  ศรสร๕๔๓ : ปฏิบัติการสรีรวิทยาสำหรับงานวิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรม ๑ (๑-๐-๒)
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
(บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)
  ศรสร๖๙๗ : สารนิพนธ์ ๖ (๐-๑๘-๐)
 

แผนการศึกษา

ประมวลรายวิชา ปีการศึกษา ๒๕๖๖

ศรสร๕๒๕ : สัมมนาการวิจัยทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ (๑-๐-๒)

ศรสร๕๔๐ : สรีรวิทยาหัวใจหลอดเลือดขั้นสูง ๑ (๑-๐-๒)

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ : 4 เมษายน 2567

Loading