ชื่อปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สรีรวิทยาการแพทย์)
ปรัชญาการศึกษา
การมุ่งเน้นการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (constructivism) จนมีความรู้ ทักษะ รวมทั้งบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ในการศึกษาและวิจัย (outcome-based education) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ตอบสนองความต้องการของสังคม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนคนไทยอย่างยั่งยืน โดยอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาการและวิชาชีพเป็นสำคัญ
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรวิชาการด้านชีวการแพทย์ โดยเฉพาะด้านสรีรวิทยาการแพทย์ในระดับอุดมศึกษา
- นักวิจัย หัวหน้าห้องปฏิบัติการด้านชีวการแพทย์ โดยเฉพาะด้านสรีรวิทยาการแพทย์
- นักวิทยาศาสตร์การวิจัย หรือบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาด้านชีวเวชศาสตร์ โดยเฉพาะด้านสรีรวิทยาการแพทย์
ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ดุษฎีบัณฑิตจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้
๑. แสดงออกลักษณะทางจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติในวงวิชาการและวิชาชีพ
๒. แสดงทักษะการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงความรู้และความก้าวหน้าทางสรีรวิทยาการแพทย์กับภาวะปกติ พยาธิสรีรวิทยา และศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องได้
๓. สังเคราะห์องค์ความรู้และความเข้าใจใหม่จากผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ปัจจุบันด้านสรีรวิทยาการแพทย์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องผ่านการเสนอแนวคิด เชิงวิพากษ์ การอภิปรายและการเขียน
๔. ใช้ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ระเบียบวิธีวิจัย สถิติ คณิตศาสตร์และการคิดทางวิทยาศาสตร์ (รวมทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑) ในการค้นคว้า คัดกรองและประเมินข้อมูลความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านสรีรวิทยาการแพทย์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๕. สื่อสารเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่เชิงลึกจากงานวิจัยด้านสรีรวิทยาการแพทย์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องแก่บุคคลกลุ่มต่างๆ และชุมชน วิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ
๖. ประยุกต์ระเบียบวิธีวิจัยและดำเนินการวิจัยในหัวข้อคัดสรรด้วยตนเองเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือความเข้าใจใหม่ๆ ต่อยอดความรู้ ให้คำจำกัดความใหม่ในศาสตร์ทางสรีรวิทยาการแพทย์
ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=tuition-fee
ทุน/รางวัล
http://www.sirirajgrad.com/ทุนการศึกษา/
https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?p=scholarship
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/?g=11)
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
๑. ใช้เวลาศึกษาตามแผนการศึกษา
๒. นักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ (๔๘ หน่วยกิต) ตามที่ระบุในหลักสูตร
๓. นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
๔. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๕. นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(http://www.grad.mahidol.ac.th/softskills/)
๖. นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
๗. ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมิน ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างน้อย ๒ ฉบับ ทั้งนี้ต้องปรากฏชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรกหรือ corresponding author ในผลงาน
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์
๑. ใช้เวลาศึกษาตามแผนการศึกษา
๒. นักศึกษาต้องศึกษาตลอดหลักสูตรครบ ๔๘ หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ๓๖ หน่วยกิต ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
๓. นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
๔. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๕. นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(http://www.grad.mahidol.ac.th/softskills/)
๖. นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
๗. ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมิน อย่างน้อย ๑ ฉบับ ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย ทั้งนี้ต้องปรากฏชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรกหรือ corresponding author ในผลงาน
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์
๑. ใช้เวลาศึกษาตามแผนการศึกษา
๒. นักศึกษาต้องศึกษาตลอดหลักสูตรครบ ๗๒ หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ๔๘ หน่วยกิต ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐
๓. นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
๔. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๕. นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
(http://www.grad.mahidol.ac.th/softskills/)
๖. นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
๗. ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมิน อย่างน้อย ๑ ฉบับ ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย ทั้งนี้ต้องปรากฏชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรกหรือ corresponding author ในผลงาน
อาจารย์ประจำหลักสูตร
- รองศาสตราจารย์ ดร. พญ. เรวิกา ไชยโกมินทร์ (ประธานหลักสูตร)
- ศาสตราจารย์ นพ. รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์
- รองศาสตราจารย์ ดร. เอกราช เกตวัลห์
- รองศาสตราจารย์ ดร. พญ. เบญจมาศ ช่วยชู
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ชัยเลิศ พิชิตพรชัย
- รองศาสตราจารย์ ดร. พญ. ฉันทชา สิทธิจรูญ
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ชัชวาลย์ ศรีสวัสดิ์
- รองศาสตราจารย์ พญ. กิ่งแก้ว ปาจรีย์
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. นราวุฒิ ภาคาพรต
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. ปณภัฏ เอื้อวิทยา
- รองศาสตราจารย์ ดร. กภ. พีร์มงคล วัฒนานนท์
- รองศาสตราจารย์ นพ. พิทยา ด่านกุลชัย
- รองศาสตราจารย์ พญ. พรจิรา ปริวัชรากุล
- รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ดา คุ้มหรั่ง
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. สมสิญจน์ เพ็ชรยิ้ม
- รองศาสตราจารย์ ดร. นพ. สรชัย ศรีสุมะ
- รองศาสตราจารย์ ดร. พญ. สุวัฒณี คุปติวุฒิ
- รองศาสตราจารย์ นพ. ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
- รองศาสตราจารย์ ดร. พญ. วัฒนา วัฒนาภา
- รองศาสตราจารย์ พญ. วีรนุช รอบสันติสุข
- รองศาสตราจารย์ ดร. อารี วนสุนทรวงศ์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ. จิราพร จิตประไพกุลศาล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มุทิตา จุลกิ่ง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. พรพจน์ เปรมโยธิน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ. สมพล เทพชุม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุคนธา งามประมวญ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนาภรณ์ รุ่งเรือง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ. ยอดยิ่ง แดงประไพ
- อาจารย์ ดร. พญ. ทักษอร กิตติภัสสร
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาสรีรวิทยา สรีรวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สุขภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) มีผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ อย่างน้อย ๑ เรื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ต้องปรากฏชื่อเป็นชื่อแรกหรือ corresponding author ในผลงาน หรือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม
(๔) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
(๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวตาม (๒) และ (๔) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับ การคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยา สรีรวิทยาการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวตาม (๒) และ (๓) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กายภาพบำบัด พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ หรือ สาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับรอง
(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
(๓) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
(๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการ คัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เกณฑ์คะแนน / การสอบ / ยื่นผล ภาษาอังกฤษ
https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency
ขั้นตอนการรับสมัคร
https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=howToBeStudent
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว | |||
วิทยานิพนธ์ | ๔๘ | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | ๔๘ | หน่วยกิต |
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ | |||
หมวดวิชาบังคับ | ๗ | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | ๕ | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | ๓๖ | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | ๔๘ | หน่วยกิต |
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ | |||
หมวดวิชาบังคับ | ๒๐ | หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | ๔ | หน่วยกิต | |
วิทยานิพนธ์ | ๔๘ | หน่วยกิต | |
รวมไม่น้อยกว่า | ๗๒ | หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
แบบ ๑
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรสร๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ | ๔๘ (๐-๑๔๔-๐) | ||
แบบ ๒
หมวดวิชาบังคับ | หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๖๐๘ : สรีรวิทยาการแพทย์ร่วมสมัย | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๑๐ : การวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ขั้นสูง | ๑ (๐-๒-๑) | ||
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ศรคร๕๐๑ : ชีวเวชศาสตร์พื้นฐานระดับโมเลกุลและเซลล์ | ๓ (๒-๒-๕) | ||
ศรสร๕๒๒ : หลักของการทดลองทางสรีรวิทยา | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๕๓๐ : รากฐานสรีรวิทยาการแพทย์ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๑ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๑ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๒ : สรีรวิทยาการแพทย์ต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๓ : สรีรวิทยาการแพทย์หัวใจหลอดเลือด | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๔ : สรีรวิทยาการแพทย์ระบบหายใจ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๕ : สรีรวิทยาการแพทย์ทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๖ : ประสาทวิทยาศาสตร์ ๒ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๕๓๗ : สรีรวิทยาบูรณาการ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๖๐๑ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๑ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๖๐๒ : สัมมนาทางสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ | ๑ (๑-๐-๒) | ||
ศรสร๖๐๘ : สรีรวิทยาการแพทย์ร่วมสมัย | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๑๐ : การวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ขั้นสูง | ๑ (๐-๒-๑) | ||
หมวดวิชาเลือก | หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๖ : สรีรวิทยาระบบหายใจขั้นสูง | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ | ๒ (๒-๐-๔) | ||
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๖ : สรีรวิทยาระบบหายใจขั้นสูง | ๒ (๒-๐-๔) | ||
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ | ๒ (๒-๐-๔) | ||
วิทยานิพนธ์ | หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
||
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท | |||
ศรสร๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ | ๓๖ (๐-๑๐๘-๐) | ||
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี | |||
ศรสร๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ | ๔๘ (๐-๑๔๔-๐) |
แผนการศึกษา
แบบ ๑.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ประมวลรายวิชา ปีการศึกษา ๒๕๖๖
ศรสร๖๐๓ : ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม ๒ (๒-๐-๔)
ศรสร๖๐๔ : สรีรวิทยาของช่องไอออน ๒ (๒-๐-๔)
ศรสร๖๐๗ : พยาธิสรีรวิทยาระดับเซลล์ ๒ (๒-๐-๔)
ศรสร๖๐๙ : ทักษะขั้นสูงในการวิจัยสรีรวิทยาการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ : 4 เมษายน 2567